บางกอกเรสคิว www.BANGKOKRESCUE.com

รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ รถตู้พยาบาล

฿0.00
รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ รถตู้พยาบาลฉุกเฉิน ตามมาตรฐานครุภัณฑ์ งบ 2,500,000 บาท ปี 2566
  • หมวดหมู่ : รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ รถตู้พยาบาล
  • รหัสสินค้า : 000105

รายละเอียดสินค้า รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ รถตู้พยาบาล

รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะรถพยาบาล (รถตู้)

ปริมาตรกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 2,400 ซีซี

หรือกำลังเครื่องยนต์ สูงสุดไม่ต่ำกว่า 90 กิโลวัตต์ จำนวน 1 คัน

 

 

รายละเอียดและคุณลักษณะเป็นไปตามบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ พ.ศ.2565 สำนักมาตรฐานงบประมาณราคากลางเป็น 2,500,000 บาท ตามรายละเอียดดังนี้

วัตถุประสงค์       ใช้ในการออกปฏิบัติการช่วยชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลในผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโดยบุคลากรที่เหมาะสม

               อาทิ แพทย์ พยาบาล เวชกรฉุกเฉิน หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการอบรม และใช้ขนส่งผู้ป่วยในภาวะวิกฤติและฉุกเฉิน เพื่อให้สอดคล้องตามประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และเป็นไปตามมาตรฐานสำนักมาตรฐานงบประมาณกำหนด

ความต้องการจำเพราะ

1.       รถพยาบาลที่ผลิตเสร็จแล้วต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทยโดยมีหนังสือรับรอง MIT จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันที่เสนอราคา

2.       ผู้ผลิตต้องเป็นผู้ประกอบการรัฐวิสาหกิจ ขนาดกลาง และขนาดย่อม (SME) โดยแนบหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ (SME) เพื่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (THAI SME-GP) ทั้งหมดมาแสดงในวันเสนอราคา

3.       โดยจัดให้มีแบบรถพยาบาล (รถตู้) และอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อให้สอดคล้องตามประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และเป็นไปตามมาตรฐานสำนักมาตรฐานงบประมาณกำหนด แบ่งเป็นส่วนดังนี้

1.       

2.       

3.       

4.       

4.1.       

4.2.       

4.3.       

4.3.1.      ส่วนที่ 1 เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์

4.3.2.      ส่วนที่ 2 เครื่องมือและอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติการฉุกเฉินของรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

4.3.3.      ส่วนที่ 3 ส่วนประกอบด้านรถหรือยานพาหนะ (ด้านโครงสร้างความปลอดภัย)

4.       คุณลักษณะทั่วไปของรถตู้พยาบาลตามมาตรฐานครุภัณฑ์ ทั้งนี้รายละเอียดของอุปกรณ์ทั้งหมดให้เป็นไปตาม ส่วนที่ 1 ถึง ส่วนที่ 3 โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามมาตรฐานครุภัณฑ์ที่สำนักงบประมาณกำหนด เป็นหลักดังนี้

1.      เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ปริมาตรกระบอกสูบไม่น้อยกว่า 2,400 ซีซี พร้อมอุปกรณ์ตามมาตรฐาน

2.      ประตูด้านหลัง ปิด-เปิด สำหรับยกเตียงผู้ป่วยเข้า-ออก

3.      มีตู้เก็บท่อ บรรจุก๊าซไม่น้อยกว่า 2 ท่อ พร้อมที่แขวนน้ำเกลือ

4.      มีที่จัดเก็บอุปกรณ์การแพทย์และอุปกรณ์อื่นที่จำเป็นอย่างเป็นสัดส่วนเป็นระเบียบและมีความปลอดภัยจากการหลุด ร่วง ปลิว ออกจากที่จัดเก็บในกรณีที่รถมีการชนหรือกระแทกหรือพลิกคว่ำ

5.      มีวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM ขนาดกำลังส่งไม่ต่ำกว่า 25 วัตต์ พร้อมอุปกรณ์ตามมาตรที่กฎหมายกำหนด

6.      เครื่องสัญญาณไฟฉุกเฉินพร้อมเครื่องขยายเสียง

7.      คุณลักษณะเฉพาะอุปกรณ์การแพทย์ประกอบ

1.    เตียงนอนโลหะผสม แบบมีล้อเข็น ปรับเป็นรถเข็นได้

2.    ชุดช่วยหายใจชนิดใช้มือบีบสำหรับเด็กและผู้ใหญ่

3.    เครื่องส่องกล่องเสียงและเครื่องดูดของเหลวใช้กับไฟรถยนต์

4.    เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดผนัง

5.    ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน

6.    ชุดเฝือกดามแขน ขา

7.    ชุดให้ออกซิเจน แบบ Pipe Line สำหรับส่งท่อก๊าซ

8.    อุปกรณ์ดามหลังชนิดสั้น

9.    เก้าอี้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยชนิดพับเก็บได้

10.    เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (Defibrillator) หรือ Automated External Defibrillator

11.    เครื่องช่วยหายใจอัตโนมัติ

12.    มี Long Spinal Board พร้อมสายรัดตรึง ที่ยึดตรึงศีรษะ (Head Immobilizer)

13.    มีระบบติดตามและระบุตำแหน่งรถยนต์

14.    มีอุปกรณ์และกระเป๋าสำหรับเก็บอุปกรณ์ตามมาตรฐาน ACLS ATLS หรือ PHTLS

15.    ภายในห้องปฏิบัติการส่วนสุดท้ายด้านบนติดตั้งโคมไฟสปอร์ตไลท์ชนิดปรับได้

16.    มีอุปกรณ์ควบคุมสถานการณ์ ประกอบด้วย กรวย กระบอกไฟกระพริบ ไฟฉายส่องสว่าง เทปจราจร เสื้อสะท้อนแลง และนกหวีด

 

ส่วนที่ 1 เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์

เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นต้องมี

1.        เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย มีล้อเข็น มีเข็มขัดนิรภัยรัดผู้ป่วย ไม่น้อยกว่า 3 จุด และสามารถปรับนั่งลักษณะเหยียดขาได้ ล้อรถเข็นหมุนได้รอบ 360 องศา อย่างน้อย 2 ล้อ มีกลไกสำหรับช่วยเข็นขึ้นรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สามารถรองรับน้ำหนักทั้งหมดได้ไม่น้อยกว่า 150 กิโลกรัม เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐานสากล (EN 1789) หรือผ่านการรับรองมาตรฐานการทดสอบการชนด้วยแรงไม่น้อยกว่า 10 G ตามมาตรฐาน (EN 1865) หรือมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 หรือมาตรฐานอื่นหรือการทดสอบอื่นที่เทียบเท่าพร้อมแนบเอกสาร หรือตามที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ประกาศ เพิ่มเติม และมีเบาะรองนอนตลอดตามยาวของเตียง สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้ มีช่องสำหรับเสียบเสาน้ำเกลือ พร้อมเสาน้ำเกลือจำนวน 1 ต้น สามารถปรับระดับสูงต่ำได้ และยึดติดกับโครงเตียงได้อย่างมั่นคง

1.1    เตียงต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทยโดยมีหนังสือรับรอง MIT จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันที่เสนอราคา

1.2    เตียงต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้รับอนุญาตให้ผลิตจาก อย. พร้อมแสดงใบอนุญาตให้ผลิตจาก อย. ในวันเสนอราคา

1.3    เตียงเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน (EN 1789) หรือ (EN 1865) หรือ ISO 13485 พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

2.        มีระบบป้องกันการกระดกของเตียงเมื่อผู้ป่วยนั่งบริเวณปลายเตียง ส่วนท้ายเตียงจะต้องมีความมั่นคงไม่กระดกล้ม

3.        มีกลไกในการพับขาเตียงให้พับไปกับฐานเตียงโดยแยกบังคับให้ขาเตียงพับขึ้น และเมื่อดึงเตียงลงจากรถล้อคู่หลังและคู่หน้าจะกางออกเองโดยอัตโนมัติ (Automatic Loading Stretcher) มีราวป้องกันผู้ป่วยตกเตียงทั้งสองข้าง สามารถพับเก็บไปด้านล่างได้

4.        มีกลไกในการยึดตรึงผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดไปด้านหน้าหรือด้านหลังระหว่างการเคลื่อนย้าย โดยมีเข็มขัดนิรภัยรัดผู้ป่วยไม่น้อยกว่า 3 จุด หรือกลไกอื่นเพิ่มเติม

5.        ฐานเตียง มีกลไกในการยึดตรึงระหว่างฐานเตียงและเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เตียงหลุดออกจากฐานเตียงขณะเคลื่อนย้าย ผ่านการรับรองมาตรฐานการทดสอบการชนด้วยแรงไม่น้อยกว่า 10 G ตามมาตรฐาน (EN 1865) หรือมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 หรือ มาตรฐานตามที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ประกาศ เพิ่มเติม พร้อมแสดงเอกสารในวันที่เสนอราคา

6.        ฐานเตียงสำหรับติดตั้งบนรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีความมั่นคงปลอดภัย โดยฐานเตียงได้รับการทดสอบความปลอดภัยตามมาตรฐาน (EN 1789) หรือ (EN 1865) หรือมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 หรือ มาตรฐานตามที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ประกาศ เพิ่มเติม พร้อมแสดงเอกสารในวันที่เสนอราคา

7.        มี Long Spinal Board พร้อมสายรัดตรึง ที่ยึดตรึงศีรษะ (Head Immobilizer) สามารถใช้ล็อคศีรษะผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บกับแผ่นกระดานรองหลังได้อย่างมั่นคง โดยมีกลไกสำหรับประคองศีรษะผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บ และมีฐานรองสำหรับยึดติดกับแผ่นกระดานรองหลัง ได้รับการทดสอบความปลอดภัยตามมาตรฐาน (EN 1789) หรือ (EN 1865) หรือได้รับการรับรองมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 หรือ มาตรฐานตามที่ สพฉ. ประกาศ เพิ่มเติม พร้อมแสดงเอกสารในวันที่เสนอราคา

7.1      ชุด Long Spinal Board พร้อมสายรัดตรึง ที่ยึดตรึงศีรษะ (Head Immobilizer) มีรายละเอียดดังนี้

7.1.1      ชุด Long Spinal Board ทำด้วยพลาสติก Polyethylene ทนแรงกระแทกและสามารถกันน้ำได้

7.1.2      มีขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 180 ซม. มีความกว้างไม่น้อยกว่า 40 ซม. มีความหนาไม่เกิน 6 ซม. และหนักไม่เกิน 8 กิโลกรัม สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้โดยไม่จม

7.1.3      สามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ขณะทำ CPRได้ไม่น้อยกว่า 300 กิโลกรัม

7.1.4      แสง X-Ray สามารถผ่านได้ พร้อมตัวอย่างฟิล์ม X-Ray มาแสดง ณ วันเสนอราคา

7.1.5      ภายในชุดแผ่นกระดานรองหลังมีแกนสำหรับยึดสายรัด รับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 170 กก. และมีแกนสำหรับสายรัดไม่น้อยกว่า 8 แกนพร้อมผลการรับน้ำหนักของแกนยึดสายรัดรับน้ำหนักสูงสุด โดยแนบผลการทดสอบจากหน่วยงานของรัฐ โดยมีเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

7.1.6      มีสายรัดผู้ป่วย ที่ปรับขนาดและมีอุปกรณ์ล็อคได้จำนวน 3 เส้น

7.1.7      ชุดแผ่นรองหลังผู้ป่วยผ่านการทดสอบการรับน้ำหนักได้จริง โดยแนบผลการทดสอบจากหน่วยงานของรัฐ โดยโดยมีเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

7.1.8      ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน (EN 1789) หรือ (EN 1865) หรือมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 หรือ มาตรฐานตามที่ สพฉ. ประกาศ เพิ่มเติม พร้อมแสดงเอกสารในวันที่เสนอราคา

7.2      ชุดยึดตรึงศีรษะ (Head Immobilizer)

7.2.1      สามารถใช้ล็อคศีรษะผู้บาดเจ็บกับแผ่นกระดานรองหลัง(Spinal Board)ได้อย่างมั่งคงโดยมีก้อนโฟมรูปสี่เหลี่ยม 2 ชิ้น สำหรับประคองด้านข้างศรีษะผู้บาดเจ็บและมีฐานรองสำหรับยึดติดกับ แผ่นกระดานรองหลัง(Long Spinal Board)

7.2.2      ทำจากโพลียูลีเทน และภายนอกชุดเคลือบด้วยโพลียูลีเทน เหลวทั้งชิ้น ผิวโดยรอบเรียบเป็นชิ้นเดียว ไม่มีรู รอยปะ รอยต่อที่จะทำให้ของเหลวซึมผ่านเข้าไป ทำให้เกิดความหมักหมมภายในได้ โดยด้านล่างของก้อนโฟมมีแผ่นหนามเตยแบบปะติด(Velcro)สำหรับยึดติดกับตัวฐาน

7.2.3      มีสายรัดสำหรับรัดโดยรอบแผ่นกระดานรองหลังอย่างมั่นคงและมีแผ่นหนามเตยแบบปะติด(Velcro)สำหรับยึดก้อนโฟม

7.2.4      มีสายรัดจำนวน 2 เส้น สำหรับยึดหน้าผากและคางผู้บาดเจ็บ

7.2.5      ผิววัสดุไม่ซึมซับของเหลวสามารถล้าง แช่ ทำความสะอาดได้ทั้งชิ้น

7.2.6      ไม่มีโลหะเป็นวัสดุสามารถ X-Ray ผ่านได้โดยตลอด    

7.2.7      ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน (EN 1789) หรือ (EN 1865) หรือมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 หรือ มาตรฐานตามที่ สพฉ. ประกาศ เพิ่มเติม พร้อมแสดงเอกสารในวันที่เสนอราคา

8.        มีชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน (เฝือกคอชนิดแข็ง (Hard Collar)) ไม่น้อยกว่า 3 ขนาด

8.1         โครงภายนอกเป็นพลาสติก ส่วนภายในเป็นโฟมอ่อน

8.2         ประกอบติดกันโดยสายรัดแบบปะติด (Velcro Fastener)

8.3         ด้านหน้ามีช่องสำหรับเจาะหลอดลมผู้ป่วยได้

8.4         สามารถปรับขนาดให้เหมาะสมกับลำคอผู้ป่วยได้

8.5         ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 14001 หรือ ISO 13485 พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

9.        มีเฝือกดาม แขน ขา

9.1         ทำจากวัสดุสังเคราะห์ สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย ป้องกันของเหลวซึมผ่านได้ดี บรรจุในกระเป๋า พร้อมหูหิ้ว มีซิบ

9.2         ไม้ดามขาส่วนรองรับขา กว้างไม่น้อยกว่า 14 ซม. ยาวไม่น้อยกว่า 80 ซม. หนาไม่น้อยกว่า 1 ซม. ส่วนรองรับปลายเท้า กว้างไม่น้อยกว่า 14 ซม. ยาวไม่น้อยกว่า 20 ซม. หนาไม่น้อยกว่า 1 ซม. จำนวน 2 ชิ้น

9.3         ไม้ดามแขนขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 9 ซม. ยาวไม่น้อยกว่า 60 ซม. หนาไม่น้อยกว่า 1 ซม. จำนวน 2 ชิ้น

9.4         ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพจากบริษัทได้รับรองมาตรฐาน ISO 14001 และ ISO 13485 พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

10.    มีแหล่งกำเนิดหรือถังบรรจุออกซิเจน พร้อมระบบจ่ายก๊าซ ชุด Regulator (ชุดลดแรงดัน) ที่ใช้งานได้ดี/ปลอดเชื้อ

10.1    มีกลไกยึดตรึง ไม่ให้หลุดออกจากจุดยึดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

10.2    มีชุดปรับแรงดันของออกซิเจน สามารถปรับอัตราการไหล 0-15 ลิตร/นาที หรือมีกลไกที่สามารถให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยได้เพียงพอกับความต้องการ

10.3    การจัดวางถังออกซิเจนในลักษณะแนวตั้ง ถังออกซิเจนเป็นแบบอลูมิเนียม ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 30 ลิตร จำนวน 2 ถัง

11.    ชุดให้ออกซิเจนแบบ Pipe Line สำหรับส่งท่อก๊าซ

11.1    มีชุดให้ออกซิเจนแบบ Pipe line โดยใช้สายส่งก๊าซออกซิเจนสำหรับใช้ทางการแพทย์โดยเฉพาะ พร้อมมีชุดเกจ์วัดแรงดันออกซิเจนแบบดิจิตอลแสดงค่าแรงดันเป็นตัวเลข เพื่อสะดวกแก่การอ่านค่าแรงดัน และปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในถัง

11.2    มีชุดให้ Oxygen แบบ Outlet ได้รับการรับรองมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 เพื่อรองรับเครื่องช่วยหายใจอัตโนมัติ และสามารถให้ออกซิเจนผู้ป่วยได้ พร้อมอุปกรณ์จับยึดอย่างแน่นหนา จำนวน 1 ชุด

11.3    มีชุดให้ Oxygen แบบข้อต่อสวมเร็วได้รับการรับรองมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 เพื่อรองรับการให้ออกซิเจนด้วยหน้ากากช่วยหายใจจากชุดให้ออกซิเจนแบบ Pipe Line จำนวน 1 ชุด

12.    มีแหล่งกำเนิดหรือถังบรรจุออกซิเจนแบบพกพาน้ำหนักรวมไม่เกิน 5 กิโลกรัม สำหรับเคลื่อนย้ายได้สะดวก พร้อมกระเป๋าหิ้วพร้อมที่ยึดบนรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน (EN 1789) หรือมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 หรือ มาตรฐานตามที่ (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน)  ประกาศที่เพิ่มเติม พร้อมแสดงเอกสารในวันที่เสนอราคา

13.    มีอุปกรณ์เพื่อใช้ในการวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Oximetry) หรืออื่น ๆ ที่จำเป็นต่อผู้ป่วย

13.1    เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว หน้าจอ OLED

13.2    ใช้สำหรับตรวจวัดปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2)และอัตราการเต้นของหัวใจ (Pulse Rate) โดยหนีบวัดที่บริเวณปลายนิ้วมือ

13.3    การแสดงผลของค่าออกซิเจน : 70 ~ 100%, ความแม่นยำ ±2%

13.4    สามารถจับสัญญาณชีพจรได้ในช่วง 25-250 ครั้ง/นาที

13.5    ใช้แบตเตอรี่แอลคาไลน์ หรือแบบชาร์จไฟได้

13.6    ใช้งานง่าย ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกพกพา

13.7    ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 14001 หรือ ISO 13485 พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

14.        มีกระเป๋าปฐมพยาบาลพร้อมอุปกรณ์พื้นฐานและอุปกรณ์ตามมาตรฐาน BLS หรือ PHTLS ประกอบด้วย

14.1  ถุงมือปราศจากเชื้อ                              จำนวน           1        กล่อง

14.2  สำลีแบบก้อน                                    จำนวน           1        ห่อ

14.3  ไม้พันสำลี                                        จำนวน           1        ห่อ

14.4  ผ้าก๊อซชนิดบางและหนา                        จำนวน           1        ชิ้น

14.5  Elastic Bandage ขนาด 4 และ 6 นิ้ว        จำนวน           1        ชิ้น

14.6  พลาสเตอร์ยา                                    จำนวน           1        กล่อง

14.7  กรรไกร                                           จำนวน           1        อัน

14.8  แอลกอฮอล์                                      จำนวน           1        ขวด

14.9  น้ำเกลือสำหรับล้างแผล                         จำนวน           1        ขวด

14.10    อุปกรณ์ล้างตา                                จำนวน           1        ขวด

14.11    ผ้าก็อตปิดตา (Eye Pad)                     จำนวน           5        ชิ้น

14.12    เบตาดีนโซลูชั่น                               จำนวน           1        ขวด

14.13    ที่ดูดเสมหะ (ลูกยางแดง)                     จำนวน           1        ลูก

14.14    แอมโมเนีย                                    จำนวน            1        ขวด

14.15    ผ้าปิดจมูก (Mask)                            จำนวน           10      ชิ้น

14.16    Pocket Mask                                จำนวน           1        ชุด

14.17    ถุงขยะติดเชื้อ                                 จำนวน           5        ใบ

14.18    ผ้ากันเปื้อน                                    จำนวน           1        ผืน

14.19    ไฟฉาย                                         จำนวน            1        กระบอก

15.    มีอุปกรณ์สำหรับดูดเสมหะ และมีกลไกหรือที่ยึดตรึงอุปกรณ์ดูดเสมหะไม่ให้ส่วนประกอบแตกได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ

15.1    เป็นเครื่องดูดของเหลวชนิดใช้ไฟฟ้าได้ 2 ระบบ ไฟบ้าน AC 220 V และ ไฟในรถยนต์ DC 12 V

15.2    สามารถปรับแรงดูดชนิดแรงดูดสูงสุด 18 ลิตร ต่อนาที

15.3    มีน้ำหนักเบา พร้อมหูหิ้วสะดวกในการเคลื่อนย้าย

15.4    มีชุดควบคุมแรงดูด พร้อมสัญญาณไฟแสดงการทำงานของเครื่อง

15.5    มีกระบอกใส่ของเหลวพร้อมชุดกันล้น ขนาดความจุ 1,000 มิลลิลิตร 1 ชุด

15.6    ฟิวเตอร์กรองแบคทีเรีย 1 ชุด

15.7    สายดูดของเหลว 1 ชุด

15.8    ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 14001 หรือ ISO 13485 พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

16.    มีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการช่วยเหลือการทำคลอดฉุกเฉิน

16.1    ชามสแตนเลสรูปไต จำนวน 1 ใบ

16.2    ที่หนีบสายสะดือ (Cord Clamp) จำนวน 2 ชิ้น

16.3    กรรไกรสแตนเลสสำหรับตัดสายสะดือ จำนวน 1 อัน

16.4    ผ้าก๊อชขนาด 4X4 นิ้ว จำนวน 1 ชิ้น

16.5    ผ้าเช็ดตัว จำนวน 1 ผืน

16.6    ผ้าห่อเด็ก จำนวน 1 ผืน

16.7    ลูกยางแดง เบอร์ 1 จำนวน 1 ลูก

17.    มีเครื่องมือตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

17.1    ตัวเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง

17.2    มีแผ่นทดสอบที่ใช้กับเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 25 แผ่น

17.3    มีเข็มสำหรับเจาะเลือดแบบใช้แล้วทิ้ง จำนวน 25 ชิ้น

18.    มีเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้า (Automated External Defibrillator) และมีที่ยึดตรึงเครื่องดังกล่าวประจำยานพาหนะ / สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้นอกยานพาหนะได้

18.1    คุณสมบัติทั่วไป

18.1.1     เป็นเครื่องกระตุกหัวใจแบบอัตโนมัติ ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา

18.1.2     ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่อง AED รุ่นที่เสนอ

18.1.3     สามารถแนะนำการใช้งานให้กับผู้ใช้ทั้งแบบเสียงพูดภาษาไทย

18.1.4     มีเสียงพูดเตือนให้ทำการกดหน้าอกให้ลึกขึ้นอีกหากการกดหน้าอกยังไม่ลึกดีพอ

18.1.5     เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 และมีหนังสือรับรองการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พร้อมแสดงเอกสาร ณ วันเสนอราคา

18.2    คุณสมบัติทางเทคนิค

18.2.1     ใช้รูปคลื่นในการกระตุกหัวใจ Rectilinear Biphasic

18.2.2     สามารถประจุไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อพบความผิดปกติที่ต้องการการกระตุกหัวใจ และสามารถคงสถานภาพการประจุไฟฟ้าไว้ได้นาน 30 วินาที

18.2.3     สามารถเพิ่มระดับพลังงานได้เองอัตโนมัติ โดยมีพลังงานสูงสุดที่ 200 J Biphasic

18.2.4     สามารถประจุไฟฟ้าไปยังระดับพลังงานที่เครื่องเลือกได้ภายใน 10 วินาที

18.2.5     สามารถใช้งานร่วมกับแผ่นไฟฟ้าแบบใช้ครั้งเดียวได้และแผ่นนำไฟฟ้าที่อายุการเก็บรักษาได้นาน 2 ปี

18.2.6     แผ่นนำไฟฟ้าที่ใช้กับตัวเครื่อง สามารถติดตามสภาพการทำ CPR ของผู้ช่วยเหลือ และสามารถรายงานผลทั้งในรูปแบบเสียงพูดภาษาไทย, ข้อความและสัญญาณบนหน้าจอ

18.2.7     ตัวเครื่องสามารถตรวจสอบระบบการทำงานของตัวเครื่องได้ด้วยตัวเองในขณะที่เริ่มเปิดเครื่องและแสดงความพร้อมของตัวเครื่องด้วยสัญลักษณ์

18.2.8     แบตเตอรี่ที่ใช้กับตัวเครื่องมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือสามารถกระตุกหัวใจได้ไม่น้อยกว่า 300 ครั้ง หรือสามารถทำการติดตามการทำงานของหัวใจผู้ป่วยได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง

18.2.9     สามารถตรวจสอบความผิดปกติแบบ Ventricular Fibrillation ที่มี Amplitude 100 uV และ Ventricular Tachycadia

18.2.10       สามารถวัดค่าความต้านทานของผู้ป่วยในช่วง 0-300 โอห์ม

18.2.11       ตัวเครื่องมีหน้าจอ LCD

18.2.12       สามารถต่อเชื่อมเพื่อทำการปรับค่าการทำงาน หรือถ่ายข้อมูลของผู้ป่วยเข้าสู่เครื่อง Computer ได้

18.3    อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน

18.3.1       แผ่นนำไฟฟ้าแบบ CPR SENSOR  1 ชุด

18.3.2       กระเป๋าสะพายสำหรับใส่ตัวเครื่อง 1 ใบ

18.3.3       คู่มือการใช้งาน 1 ชุด

19.    มีอุปกรณ์และกระเป๋าสำหรับเก็บอุปกรณ์ตามมาตรฐาน ACLS ATLS หรือ PHTLS ประกอบไปด้วย

-          ชุดให้สารน้ำพร้อมอุปกรณ์

-          ท่อช่วยหายใจ

-          ที่เปิดปากทางเดินหายใจ

-          สาย sution

-          สายออกซิเจน

-          หน้ากากให้ออกซิเจน

-          เทปใสสำหรับแต่งแผล

-          ถุงมือ

20.    มีชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ สำหรับช่วยหายใจ ผู้ใหญ่ เด็ก และเด็กแรกเกิด

20.1    ถุงลมยางทำด้วยซิลิโคน และสามารถพับได้ เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา

20.2    วาวล์สำหรับควบคุมการไหลของอากาศ สามารถแยกประกอบได้

20.3    หน้ากากครอบปากและจมูกทำด้วยวัสดุโปร่งใส และส่วนที่เป็นยางทำจากซิลิโคนอ่อนนิ่มหล่อเป็นชิ้นเดียวกัน โดยมีขนาดสำหรับผู้ใหญ่ เด็ก และเด็กแรกเกิด อย่างละ 1 อัน และมีที่เปิดทางเดินหายใจ 3 ขนาด ขนาดละ 1 ชิ้น

20.4    ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 14001 หรือ ISO 13485 พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

21.    เครื่องช่วยหายใจอัตโนมัติ ที่สามารถใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่ และเด็ก จำนวน 1 เครื่อง

21.1    คุณลักษณะทั่วไป

21.1.1   สามารถใช้กับผู้ป่วยเด็กจนถึงผู้ใหญ่

21.1.2   ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย

21.1.3   สามารถใช้งานรวมกับระบบออกซิเจนหรือระบบอากาศอัดของทางโรงพยาบาลได้

21.1.4   เป็นผลิตภัณฑ์โดยบริษัทฯ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 13485

21.2    คุณลักษณะเฉพาะ

21.2.1   สามารถปรับตั้งค่าปริมาตรการหายใจต่อนาทีได้ อย่างน้อย 1 ถึง 16 ลิตรต่อนาที

21.2.2   สามารถปรับอัตราการหายใจได้อย่างน้อย 5 ถึง 50 ครั้งนาที

21.2.3   สามารถปรับ Pressure Limit ได้ตั้งแต่ 1 ถึง 50 เซนติเมตรน้ำ

21.2.4   สามารถตั้งความดันบวกในระบบ PEEP ได้อย่างน้อยตั้งแต่ 0 ถึง 20 เซนติเมตรน้ำ

21.2.5   สามารถตั้งความเข้มข้นของออกซิเจนได้ 50 และ 100 เปอร์เซ็นต์

21.2.6   มีระบบสัญญาณเตือนเมื่อออกซิเจนใกล้หมด

21.3    อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน

21.3.1   Breathing Circuit Reusable                                                   จำนวน 2 ชุด

21.3.2   Trolley                                                                                จำนวน 1 คัน

21.3.3   Exhalation Valve                                                                 จำนวน 2 ชิ้น

22.    มีเครื่องส่องกล่องเสียง จำนวน 1 ชุด รายละเอียดดังนี้

22.1    ด้ามจับทำด้วยโลหะปลอดสนิม

22.2    ตัวท่อส่องตรวจสามารถถอดออกจากด้ามจับได้อย่างสะดวก

22.3    ตัวท่อส่องออกแบบให้มีท่อเล็ก ๆ เพื่อเป็นท่อส่องแสงสว่างขณะทำการตรวจ

22.4    ในชุดมีท่อส่องกล่องเสียง ไม่น้อยกว่า 3 ท่อ

22.5    ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 13485 พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

23.    มีเก้าอี้พร้อมล้อเข็น สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นลงบันได (Stair chair)

23.1    เก้าอี้ทำด้วยโลหะปลอดสนิมมีพนักพิง สามารถพับเก็บได้เมื่อไม่ได้ใช้งาน

23.2    ส่วนที่รองรับผู้ป่วยเป็นผ้าในลอนกันน้ำอย่างดี สามารถทำความสะอาดได้

23.3    มีที่จับสำหรับยกเก้าอี้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเพื่อให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก

23.4    มีล้อสำหรับเข็นได้ จำนวน 4 ล้อ

23.5    สามารถรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ไม่น้อยกว่า 100 กก.

23.6    น้ำหนักรวมไม่เกิน 15 กก. 

23.7    ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 14001 และ ISO 13485 โดยพร้อมแนบเอกสารในวันเสนอราคา        

24.    มีเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดตรึงกับฝาผนังพร้อมอุปกรณ์

24.1    เป็นแบบ Wall Aneroid ติดตั้งยึดกับผนังห้องพยาบาล

24.2    สามารถวัดความดันโลหิตได้จาก 0-300 มิลลิเมตรปรอท

24.3    มีผ้าพันแขนสำหรับผู้ใหญ่และเด็กเป็นชนิดปะติด (Velero Fastener) อย่างละ 1 ชุด

24.4    สายยางต่อจากผ้าพันแขนเป็นแบบ Coiled Tubing ต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 8 ฟุต

24.5    ลูกยางสำหรับอัดลมผ้าพันแขน พร้อมลิ้นปิด-เปิด สะดวกต่อการควบคุม

24.6    ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 14001 หรือ ISO 13485 พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

25.    อุปกรณ์ดามหลังชนิดสั้น (KED) แผงสำหรับรัดตัวผู้บาดเจ็บ ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

25.1    แท่งดามเชื่อมโยงกันเป็นแผงทำจากวัสดุสังเคราะห์ PASSWOOD สามารถโอบรอบลำตัว และศีรษะได้อย่าง กระชับ พื้นผิวหุ้มด้วย วัสดุ สังเคราะห์ที่ป้องกันน้ำหรือของเหลวซึมผ่านได้ มีหนามเตย (Velcro) ที่สามารถติดสายรัด หน้าผากและคางของผู้บาดเจ็บ  แห่งละ 1 เส้น

25.2    มีเข็มขัดยึดตัวของผู้บาดเจ็บซึ่งใช้หัวล็อคแบบสวมเร็ว (Instant Snap Lock Buckle) จำนวน 3 เส้น

25.3    มีสีแตกต่างกัน และมีชุดเข็มขัดสำหรับรัดใต้ขา 2 เส้น เพื่อเพิ่มความกระชับ โดยเข็มขัดทุกเส้นสามารถปรับได้   มีกระเป๋าสำหรับเก็บอุปกรณ์

25.4    มีหมอนสำหรับหนุนรองบริเวณหลังศีรษะหากยึดตรึงผู้บาดเจ็บกับอุปกรณ์และมีช่องว่างเหลือมากเกินไป รังสี X-RAY สามารถผ่านได้โดยตลอด ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 87 เซนติเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า 86 เซนติเมตร มีน้ำหนักไม่เกิน 3 กิโลกรัม

25.5    ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 14001 และ ISO 13485 พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

 

ส่วนที่ 2 เครื่องมือและอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติการฉุกเฉินของรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

1.    ติดตั้งไฟสัญญาณวับวาบ แสงแดง - น้ำเงิน โดยไฟสัญญาณวับวาบแสงสีแดงจะต้องอยู่ฝั่งคนขับเหนือศีรษะของผู้ขับขี่แสงสีน้ำเงินอยู่ฝั่งผู้โดยสารเหนือศีรษะของผู้ขับขี่ และเสียงสัญญาณพร้อมอุปกรณ์ โดยการติดตั้งดังกล่าวต้องดำเนินการตามประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตใช้ไฟสัญญาณวับวาบและเสียงสัญญาณ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 โดยผู้ซื้อเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตตามระเบียบ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เอง

1.1    ออกแบบให้มีพื้นที่สำหรับติดตั้งหลอด LED ชุดละไม่น้อยกว่า 3 หลอด จำนวนไม่น้อยกว่า 24 โมดูล ให้ความสว่างสูงและประหยัดไฟ

1.2    ฝาเลนส์ครอบดวงไฟทำด้วยวัสดุโพลีคาร์บอร์เนตหรือ Lcxan ช่องซ้ายและขวามีสีของเลนส์ตามกฎหมายกำหนด ด้านบนของฝาเลนส์มีลายฝ้าเพื่อเพิ่มความเข้มของแสง ขนาดของแผงไฟ (ไม่รวมขาติดตั้ง) ยาวไม่น้อยกว่า 140 ซม. สูงไม่เกิน 6 ซม. กว้างไม่น้อยกว่า 29 ซม.

1.3    สัญญาณไฟฉุกเฉินต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทยโดยมีหนังสือรับรอง MIT จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันที่เสนอราคา

1.4    เป็นผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 14001 หรือ ISO 13485

2.      ติดตั้งไฟฉุกเฉินชนิดหลอด LED โมดุลชนิดกันน้ำสีน้ำเงิน-แดงพร้อมไฟสปอร์ตไลท์ส่องสว่างชนิดหลอด LED ชนิดกันน้ำ ให้ความสว่างสูง ทั้งหมดอยู่ในกรอบไฟเบอร์หล่อขึ้นรูปอย่างดีติดตั้งบนหลังคาด้านซ้ายและขวา ด้านละ 2 ชุด แต่ละชุดมีหลอด LED ไม่น้อยกว่า 12 ดวง ต้องผ่านการทดสอบมาตรฐาน มอก.513-2553 และ IP-X7 โดยไม่มีน้ำเข้าเกิดความเสียหายได้ โดยมีเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

3.      ติดตั้งไฟฉุกเฉินชนิดหลอด LED โมดุลชนิดกันน้ำสีน้ำเงิน-แดงอยู่ในกรอบไฟเบอร์หล่อขึ้นรูปอย่างดีบริเวณบนหลังคาส่วนท้ายด้านซ้าย-ขวา อย่างละ 1 ชุด ต้องผ่านการทดสอบมาตรฐาน มอก.513-2553 และ IP-X7 โดยไม่มีน้ำเข้าเกิดความเสียหายได้ โดยมีเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

4.    มีชื่อหรือโลโก้ตราสัญลักษณ์ตามที่ผู้ซื้อ หรือตามที่หน่วยงานกำหนด

5.    มีเครื่องขยายเสียงขนาดไม่น้อยกว่า 100 วัตต์ พร้อมลำโพง ใช้กับไฟกระแสตรง 12 โวลต์ พร้อมใช้งาน

6.    มีชุดอุปกรณ์ที่มีกลไกในการแปลงกระแสไฟฟ้ากระแสตรงที่มีแรงดัน 12 โวลต์ เป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ขนาดไม่น้อยกว่า 1,000 วัตต์ พร้อมปลั๊กไฟฟ้า 220 โวลต์ จำนวนไม่น้อยกว่า 2 จุด และมีปลั๊กไฟฟ้าแบบที่ USB อย่างน้อย 1 จุด และมีชุดสายพ่วงต่อใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ ยาวไม่น้อยกว่า 3 เมตร 1 ชุด

7.    มีสวิทซ์ตัดไฟฟ้า (Circuit Breaker) สำหรับห้องปฏิบัติการซึ่งติดตั้งอยู่ในห้องคนขับ

8.    มีเครื่องวิทยุคมนาคม กรณียื่นขอรับรองครั้งแรกให้ดำเนินการตามระเบียบสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ว่าด้วยการควบคุมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ (Synthesizer) พ.ศ. 2562 และเป็นไปตามการอนุญาตของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกำหนด โดยผู้ซื้อเป็นผู้ดำเนินขออนุญาตเอง

8.1    วิทยุสื่อสารชนิดติดรถยนต์ แบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2  จำนวน    1     เครื่อง

อุปกรณ์ประกอบของเครื่องรับ ส่งวิทยุ จำนวน 1 ชุดต่อเครื่อง

1.  ไมโครโฟน สำหรับพูด    1 ชุด

2.  แท่นตั้งเครื่อง   1  แท่น

3.  ชุดสายไฟ DC พร้อมฟิวท์   1  ชุด

4.  ชุดเสาอากาศพร้อมอุปกรณ์จับยึด ติดรถยนต์   1  ชุด

5. ผู้เสนอราคาต้องมีใบอนุญาตค้าวิทยุคมนาคม และมีเอกสารรับรองว่าวิทยุสื่อสารดังกล่าว ได้ผ่านการตรวจสอบและอนุญาตให้สำรองจำหน่าย กับหน่วยงานราชการ และเอกสารดังกล่าวออกโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทางราชการในการขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุ และขอใช้ความถี่วิทยุกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทคมนาคมแห่งชาติ พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

9.   อุปกรณ์ควบคุมสถานการณ์ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ รายละเอียดดังนี้

-   กรวยยาง                            -  กระบองไฟกระพริบ

-   ไฟฉายส่องสว่าง                     -  เทปจราจร

-   เสื้อสะท้อนแสง                      -  นกหวีด

-   รองเท้าบูท 2 คู่                     - น้ำยาทำความสะอาดพื้นผิวรถ 1 ขวด

-   น้ำยาล้างมือแบบแห้ง หรือเจลแอลกอฮอล

10.    มีกล้องบันทึกภาพภายในรถและการจราจร สามารถบันทึกภาพได้ตลอดระยะเวลาปฏิบัติภารกิจและสามารถส่งสัญญาณภาพและเสียงสามรถเชื่อมต่อ และสนธนากับศูนย์ควบคุมรถพยาบาล หรือศูนย์สั่งการหรือหน่วยงานผู้ซื้อได้

1.   

2.   

3.   

4.   

5.   

6.   

7.   

8.   

9.   

10.   

10.1.  กล้องสำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องส่งสัญญาณภาพ และเสียง

10.1.1. สามารถรับภาพที่มีความสว่างระยะแสงสว่างอินฟราเรดจะต้องไม่น้อยกว่า 20 เมตรได้

10.1.2. กล้องวงจรปิดจะต้องได้มาตรฐานการป้องกันฝุ่น และละอองน้ำ IP66 พร้อมแนบเอกสารในวันเสนอราคา

10.1.3. อุปกรณ์ที่เสนอ ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองมาตรฐาน CE หรือ UL พร้อมแนบเอกสารในวันเสนอราคา

10.2.เครื่องส่งสัญญาณภาพ และเสียง

10.2.1. สามารถส่งสัญญาณภาพแบบออนไลน์และบันทึกภาพได้ทั้งหมด 4 กล้องโดยอุปกรณ์เป็นชนิด Non-PC Base เพื่อเสถียรภาพในการทำงานและไม่มีโอกาสติดไวรัสคอมพิวเตอร์

10.2.2. สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้พร้อมกันอย่างน้อย 2 กล้อง

10.2.3. มีรีโมทไร้สายควบคุมการทำงานของเครื่องส่งสัญญาณภาพได้ เป็นอย่างน้อย

10.2.4. สามารถกำหนดการหน่วงเวลาเพื่อให้อุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณภาพบันทึกข้อมูลก่อนการปิดระบบสูงสุด 24 ชั่วโมง

10.3.  โปรแกรมบริหารจัดการเครื่องส่งสัญญาณภาพและติดตามตำแหน่ง GPS

10.3.1. โปรแกรมบริหารจัดการ เครื่องส่งสัญญาณภาพและติดตามตำแหน่ง GPS ที่เสนอ ต้องสามารถควบคุมบริหารจัดการอุปกรณ์ ที่เสนอติดตั้งได้

10.3.2. รองรับการแสดงภาพตำแหน่งของเครื่องส่งสัญญาณภาพและติดตามตำแหน่ง GPS ผ่าน แผนที่ที่เสนอ และสามารถเรียกดูเส้นทางการเดินรถย้อนหลังได้ (Track playback) ได้ย้อนหลังอย่างน้อย 1 ปี พร้อมกราฟความเร็ว

10.3.3. โปรแกรมบริหารจัดการสามารถใช้งานฟังก์ชั่นการสื่อสาร 2 ทางระหว่างศูนย์อำนวยการและรถพยาบาลและกระจายเสียงไปยังรถพยาบาลหลายคันได้

10.3.4. โปรแกรมจะต้องสามารถแสดงรายละเอียดของภาพจากกล้องที่ติดตั้ง อาทิ ชื่อกล้อง,วันที่, เวลา,พิกัด ,ความเร็ว ได้เป็นอย่างน้อย และสามารถกำหนดอายุการใช้งาน (Expired date)ของ User/Password ในการ Login ใช้งานได้

10.4.  อุปกรณ์สื่อสารระหว่างศูนย์กลางและรถพยาบาล

10.4.1. ติดตั้งชุดสนทนาไมโครโฟนพร้อมลำโพงภายใน รถพยาบาล สำหรับการสื่อสารระหว่างโปรแกรมบริหารจัดการที่ศูนย์กลางกับรถพยาบาล

10.4.2. รองรับฟังก์ชั่นฟังเสียง, สื่อสาร 2 ทาง บริเวณตำแหน่ง ภายในห้องผู้ป่วยด้านหลัง ผ่านโปรแกรมบริหารจัดการ โดยสามารถทำงานพร้อมกับการ แสดงภาพสด 4 มุมมอง พร้อมตำแหน่ง GPS แบบ Real-time  ได้

11.     

12.     

13.     

14.     

15.     

16.     

17.     

18.     

11.    มีระบบติดตามและระบุตำแหน่งรถยนต์  (GPS) ที่สามารถเชื่อมกับระบบที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กำหนด

1.   

2.   

3.   

4.   

5.   

6.   

7.   

8.   

9.   

10.   

11.   

11.1.  คุณสมบัติเบื้องต้นของระบบของ GPS ที่สามารถเชื่อมกับระบบที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กำหนด

11.1.1. อุปกรณ์อุปกรณ์ใช้รูปแบบการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมือถือมายังคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของผู้ให้บริการ โดยคอมพิวเตอร์แม่ข่ายจะทำหน้าที่ในการประมวลผลและสำรองข้อมูล โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานโปรแกรมติดตามยานพาหนะผ่านอินเตอร์เน็ต

11.1.2. อุปกรณ์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้รูปแบบการส่งข้อมูลของเครือข่ายมือถือ ในสภาวะการทำงานสามารถส่งข้อมูลได้ไม่เกิน 1 นาที ขณะรถวิ่งและในกรณีจอดสามารถส่งข้อมูลได้ไม่เกินทุก 5 นาทีและปรับปรุงสถานะได้เองแบบอัตโนมัติ

11.1.3. สามารถแสดงตำแหน่งรถบนแผนที่ของศูนย์ควบคุม พร้อมทั้งสามารถระบุอำเภอ และจังหวัดที่รถอยู่ในช่วงเวลานั้นได้

11.1.4. สามารถบอกสถานะของรถแต่ละคัน ได้แก่ การใช้งาน การหยุด การจอด การใช้ความเร็วเกินกำหนดการเข้าพื้นที่ต้องห้าม

11.1.5. ข้อมูลที่รับมาจากรถแต่ละคันถูกเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูล และสามารถเรียกกลับมาใช้งานได้ตลอดเวลา โดยสำรองข้อมูลไว้ตรวจสอบไม่น้อยกว่า 180 วัน

11.1.6. อุปกรณ์ฯ ได้รับการจดทะเบียนตามกรมการขนส่งทางบกฯ

11.1.7. ฃอุปกรณ์ที่นำเสนอต้องได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) พร้อมแนบเอกสารในวันที่เสนอราคา

11.1.8. GPS เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช โดยผู้เสนอราคาต้องแนบใบอนุญาตจาก กสทช. ในวันที่เสนอราคา

11.1.9. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 9001 และ ISO 45001 พร้อมแนบเอกสารในวันที่เสนอราคา

1.  

2.  

3.  

4.  

5.  

6.  

7.  

8.  

9.  

10.  

11.  

12. มีเครื่องดับเพลิงแบบยกหิ้ว มีมาตรฐาน มอก. สามารถดับเพลิงได้ ตาม Class A B C ได้ระยะเวลาไม่น้อยกว่าถังดับเพลิงชนิดเหลวระเหยชนิดไม่มีสาร CFC ขนาดไม่น้อยกว่า 5 ปอนด์พร้อมติดตั้งจำนวน 1 ถัง โดยมีเอกสารรับรองมาตรฐาน มอก. มาแสดงในวันเสนอราคา

 

ส่วนที่ 3 ส่วนประกอบด้านรถหรือยานพาหนะ (ด้านโครงสร้างความปลอดภัย)

1.        เป็นรถหรือพาหนะสำหรับการบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีมิติขนาดและอุปกรณ์ ส่วนควบเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ตัวถังสีขาวและมีแถบสีเหลืองฉุกเฉินการแพทย์ Sulphur Yellow รหัสสี RAL 1016 เป็นหลัก (แถบสีเหลืองอาจเป็นสติกเกอร์หรือสีทารถ) คาดรอบรถหรือพาหนะ มีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร สติกเกอร์แผ่นสะท้อนแสงต้องผ่านการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงแบบแคนเดลาต่อลักซ์ต่อตารางเมตร

1.1         ผู้เสนอราคาต้องแสดงรายงานการทดสอบค่าสัมประสิทธิ กานสะท้อนแสงของแถบสีเหลืองฉุกเฉินการแพทย์ Sulphur Yellow รหัสสี RAL 1016 สำหรับติดรถพยาบาล จากหน่วยงานของรัฐ พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันเสนอราคา

2.        คุณลักษณะทางเทคนิคของตัวรถยนต์

2.1            ระบบเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์ดีเซลชนิด 4 สูบปริมาตรความจุ ปริมาตรความจุภายในกระบอกสูบไม่น้อยกว่า 2,400 ซีซี หรือมีกำลังเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 90 กิโลวัตต์ มีเกียร์เดินหน้าไม่น้อยกว่า 4 เกียร์และเกียร์ถอยหลัง 1 เกียร์

2.2            ระบบกันสะเทือน ล้อหน้าแบบปีกนกคู่และทอร์ชั่นบาร์สปริงพร้อมเหล็กกันโคลง ล้อหลังแหนบซ้อนและโช้คอัพช่วย หรือคอยส์สปริงพร้อมเหล็กกันโคลง หรือตามมาตรฐานผู้ผลิต

2.3            ระบบพวงมาลัยขับด้านขวามีพาวเวอร์ช่วยผ่อนแรง

2.4            ระบบห้ามล้อ ดิสเบรคล้อหน้า ดรัมเบรคล้อหลัง หรือดิสเบรคทั้ง 4 ล้อ

2.5            ระบบไฟฟ้าใช้แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลท์ ไม่น้อยกว่า 65 แอมแปร์ พร้อมทั้งอุปกรณ์และโคมไฟฟ้าประจำรถครบถ้วน

2.6            ล้อและยางเป็นขนาดมาตรฐานจากโรงงานผู้ผลิต

2.7            ความยาวช่วงล้อหน้า – ล้อหลัง ตามมาตรฐานโรงงานผู้ผลิต

2.8            ความยาวห้องพยาบาลทั้งหมด (ส่วนหลังห้องคนขับ) มาตรฐานผู้ผลิต

2.9            เมื่อผลิตเป็นรถพยาบาลแล้วเสร็จ ต้องสามารถจดทะเบียนเป็นรถเฉพาะกิจ (ตู้พยาบาล) กับสำนักงานขนส่ง ได้อย่างถูกต้อง

3.        ติดฟิล์มกรองแสงชนิดมาตรฐาน เพื่อความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ป่วย เมื่อวัดการผ่านของแสงแล้วต้องผ่านทั้งกระจกและฟิล์มกรองแสงที่มีแสงผ่านได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40

4.        ห้องคนขับมีผนังกั้นแยกออกจากช่วงหลังซึ่งจัดเป็นห้องปฏิบัติการ มีวัสดุกั้นแบ่งและมีกลไกในการสื่อสารถึงกันได้ หรือติดตั้งกระจกบานเลื่อนระหว่างห้องคนขับและห้องปฏิบัติการ ชุดผนังต้องออกแบบให้มีความแข็งแรง ปลอดภัยกับผู้โดยสารและผู้ขับเมื่อเกิดการชน (เช่น UN-ECE R66 หรือตามมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชน หรือการทดสอบอื่นที่เทียบเท่าหรือดีกว่า หรือตามมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 ด้านการผลิตรถพยาบาลโดยตรง หรือตามที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กำหนดเพิ่มเติม) พร้อมเอกสารมาตรฐานมาแสดงในวันที่เสนอราคา

5.        มีระบบปรับอากาศ มีคุณสมบัติดังนี้

5.1         ติดตั้งพัดลมไฟฟ้าระบายอากาศ จำนวน 1 เครื่อง โดยมีสวิทซ์ปิด - เปิด อยู่ในชุดควบคุมเดียวกันที่แผงทั้งหมด โดยที่ติดตั้งด้านบนของห้องปฏิบัติการรอยต่อจะต้องเชื่อมด้วยวัสดุถาวรกันน้ำอย่างดี โดยฝาครอบด้านนอกตัวรถและในตัวรถที่สามารถกันน้ำอย่างดี

5.2         ในห้องคนขับและห้องปฏิบัติการ ติดตั้งระบบปรับอากาศตามมาตรฐานผู้ผลิต และติดตั้งระบบกรองอากาศฆ่าเชื้อโรค และดักฝุ่นละอองได้  โดยอาจแยกระบบปรับอากาศของห้องคนขับออกจากห้องปฏิบัติการได้

6.        ในห้องคนขับมีวิทยุพร้อมชุดแสดงภาพจากกล้องส่องหลังและแผนที่ดาวเทียมเพื่อช่วยในการหาเส้นทางมีวิทยุพร้อมลำโพง และมีสัญญาณแจ้งเตือนการคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง

7.        ห้องคนขับมีประตู ปิด – เปิด ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาที่มีกุญแจล็อค

8.        ห้องปฏิบัติการ หรือห้องพยาบาลมีตู้ใส่อุปกรณ์และเวชภัณฑ์

8.1    ด้านหลังคนขับในห้องพยาบาล ติดตั้งตู้เวชภัณฑ์แบบ 2 ชั้น วัสดุทำจากอลูมิเนียม พร้อมฝาปิดชนิดใส ด้านข้างออกแบบเป็นชั้นวางเวชภัณฑ์และที่วางเก้าอี้รถเข็นได้ มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 25 ซม. ยาวไม่น้อยกว่า 90 ซม.  พร้อมมีประตูปิดแบบบานเลื่อนซ้าย-ขวา ด้านบนออกแบบให้มีฉากกันตกทำจากอลูมิเนียมความสูงไม่น้อยกว่า 3 ซม.

8.2    มีชั้นสำหรับเก็บเอกสารและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นแบบล็อค หรือ เลื่อนได้ หรือมีฝาปิด ต่อจากตู้ใส่เวชภัณฑ์ แบบตู้ลอยขนานไปกับเพดานจากตู้ยาไปยังส่วนท้ายของรถ ยาวไม่น้อยกว่า 100 ซม. สูงไม่น้อยกว่า 20 ซม. ทำจากวัสดุทำจากอลูมิเนียม พร้อมติดตั้งประตูชนิดบานเลื่อนแบบใส ไม่น้อยกว่า 2 ช่อง

8.3    มีตู้เก็บท่อ บรรจุก๊าซ ทำจากวัสดุทำจากอลูมิเนียม มีพื้นที่เก็บท่อเก็บออกซิเจนขนาดไม่น้อยกว่า 30 ลิตร จำนวน 2 ท่อ วางแนวตั้งเพื่อความสะดวกในการนำถังออกซิเจนเข้าออกจากรถ พร้อมอุปกรณ์จับยึดถังออกซิเจนอย่างแน่นหนา

8.4    มีกลไกในการเข้าถึงส่วนของห้องปฏิบัติการ โดยมีระบบล็อคป้องกันการเหวี่ยงของประตูเมื่อปิดใช้งาน

8.5    มีขนาดความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติการช่วยชีวิต วัดจากพื้นเตียงของผู้ป่วยในห้องปฏิบัติการถึงด้านบนสุดของห้องปฏิบัติการ โดยมีความสูงไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร หรือมีความสูงที่เพียงพอที่สามารถปฏิบัติการฉุกเฉินได้อย่างสะดวก

9.        มีแผ่นบังแสงแดดกระจก หรืออุปกรณ์ด้านหน้าซ้าย - ขวา ข้างละ 1 อัน

10.    มีเครื่องประจุไฟแบตเตอรี่ฉุกเฉิน หรือ เครื่องช่วยสตาร์ท

       รายละเอียดของเครื่องช่วยสตาร์ท

1.1         เครื่องช่วยสตาร์ท 12 V ขนาด 16,000 mAh สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน

1.2         เครื่องช่วยสตาร์ทสำหรับใช้งานกรณีฉุกเฉินเมื่อไม่สามารถสตาร์ทรถได้เนื่องจากไฟในแบตเตอรี่รถยนต์หมดหรือแบตเตอรี่เสื่อมสภาพเก็บไฟไม่อยู่ทำให้สตาร์ทรถไม่ติด

1.3         สามารถนำเครื่องช่วยสตาร์ทมาใช้อย่างสะดวกในกรณีฉุกเฉินซึ่งไม่สามารถต่อพ่วงกับรถยนต์คันอื่นได้ หรือผู้ประสบภัยอยู่ลำพังคนเดียวในสถานที่ ที่ยากต่อการได้รับความช่วยเหลือ

1.4         เหมาะสำหรับทีมกู้ภัยเพื่อใช้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันที

1.5         สามารถจั้มสตาร์ทได้ทันที่โดยไม่ต้องถอดขั้วแบตเตอรี่รถยนต์ออก

1.6         มีไฟแจ้งสถานะจำนวน 4 ดวง พร้อมปุ่ม ปิด-เปิด การทำงาน

1.7         มีไฟฉายในตัวสามารถใช้ได้ในที่มืดและสามารถปรับเป็นไฟฉุกเฉินได้

1.8         มีช่อง USB จำนวน 2 ช่อง สามารถใช้ชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น โทรศัพท์มือถือได้

1.9         มีช่องสำหรับเสียบสายจั้มสตาร์ทอยู่ด้านข้างตัวเครื่องเพื่อสะดวกแก่การใช้งาน

1.10    สายจั้มสตาร์ทออกแบบให้สามารถตรวจเช็คปริมาณกระแสไฟในแบตเตอรี่ได้โดยแสดงสถานะเป็นตัวเลขบนหน้าจอดิจิตอลที่ติดตั้งมากับชุดช่วยสตาร์ท โดยไม่ต้องเสียบต่อเข้ากับเครื่องช่วยสตาร์ท

1.11    มีสายชาร์จไฟสามารถชาร์จได้ทั้งไฟบ้านและไฟรถยนต์

1.12    มีกล่องบรรจุเครื่องช่วยสตาร์ทผลิตจากพลาสติก ABS ป้องกันน้ำและฝุ่น ได้มาตรฐาน IP54 และ ISO 14001 พร้อมแสดงเอกสาร หนังสือรับรองมาตรฐานในวันเสนอราคา

1.13    ตัวกล่องสามารถรับน้ำหนักได้ 350 กิโลกรัม ผ่านการทดสอบจากหน่วยของรัฐ พร้อมแสดงเอกสาร ผลการทดสอบในวันเสนอราคา

1.14    เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้จำหน่ายได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 พร้อมแสดงเอกสาร หนังสือรับรองมาตรฐานในวันเสนอราคา

11.    มีชุดแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรง 12 โวลต์ เป็นกระแสสลับ 220 โวลต์ 50 เฮิรตซ์ เพื่อใช้กับเครื่องมือแพทย์

12.    มีชุดควบคุมระบบไฟฟ้า, ไฟฟ้าแสงสว่าง (Cut Out) ของห้องปฏิบัติการ หรือห้องพยาบาลอยู่ในห้องคนขับ

13.    ส่วนที่ใช้เพื่อการบำบัดรักษาที่อยู่ด้านหลังของส่วนผู้ขับขี่จัดเป็นห้องปฏิบัติการ หรือห้องพยาบาลให้มีพื้นที่เพียงพอ สำหรับการจัดวางเตียงพร้อมผู้ป่วยฉุกเฉินในลักษณะนอนราบ มีประตูปิดด้านท้าย ปิดล็อคสนิทเมื่อมีการลำเลียงหรือขนย้ายผู้ป่วย และต้องมีพื้นที่สำหรับผู้ปฏิบัติการในการให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างเพียงพอ

13.1    ด้านหัวเตียง จัดให้มีระยะห่างระหว่างขอบเตียงด้านหัวห่างขอบ ผนังกั้นส่วนของคนขับให้เพียงพอกับการปฏิบัติการหรือห้องพยาบาลดูแล ระบบ ทางเดินหายใจจากด้านหัวเตียง

13.2    ความสูงของส่วนที่ใช้เพื่อการปฏิบัติการฉุกเฉินเพียงพอในการปฏิบัติการ เช่น การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)

13.3    จัดให้มีที่นั่งพร้อมเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งสำหรับผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ที่ สามารถให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างสะดวก

13.4    ห้องปฏิบัติการด้านซ้ายมีประตู ปิด-เปิด ขึ้น-ลง ของเจ้าหน้าที่และด้านหลังมีประตูปิด-เปิด ได้สะดวก สำหรับยกเตียงผู้ป่วยเข้า-ออกจากรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างสะดวก

13.5    ห้องปฏิบัติการ หรือห้องพยาบาลมีไฟฟ้าให้แสงสว่างเพียงพอ

14.    ผนังและฝ้าเพดานภายในห้องปฏิบัติการ หรือห้องพยาบาลทำด้วยวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายในกรณีอุบัติเหตุ และไม่ปลดปล่อยควันพิษในกรณีที่เกิดไฟไหม้ และต้องมีไฟให้แสงสว่างภายในห้องพยาบาลดังนี้

14.1        มีไฟให้แสงสว่างชนิดหลอด LED แบบสำหรับใช้ทางการแพทย์มาตรฐาน ISO 13485 เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน MIT จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ติดตั้งตามตำแหน่งที่เหมาะสมจำนวน 5 ชุด พร้อมสวิทซ์ปิด - เปิด ให้มีความสว่างเพียงพอในห้องพยาบาล พร้อมเอกสารมาตรฐาน ISO และ MIT มาแสดงในวันที่เสนอราคา

15.    พื้นผิวพาหนะภายในส่วนห้องปฏิบัติการ หรือห้องพยาบาลมีพื้นผิวเรียบไม่ลื่น ทนต่อสารเคมีเพื่อทำความสะอาด ซึ่งได้ผ่านการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร พ.ศ.2559

15.1        ผ้ายางปูพื้นผ่านการทดสอบมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบ UNR 118. ANNEX 6 Test Method

15.2        ผ้ายางปูพื้นผ่านการรับรองตามมาตรฐานกรมการขนส่งทางบก โดยแนบผลการทดสอบในวันเสนอราคา

15.3        ยางปูพื้นผ่านการรับรองมาตรฐาน EN 13845 และ EN ISO 13501 โดยมีเอกสารผลการทดสอบรับรองมาตรฐานมาแสดงในวันเสนอราคา

16.    ในห้องปฏิบัติการ หรือห้องพยาบาลฝั่งประตูด้านข้างสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 2 ที่นั่ง และมีกลไกในการปรับเบาะเพื่อให้มี Clearance ช่องทางเดินไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร มีชุดเก้าอี้นั่งเดี่ยว 2 ที่นั่ง ปรับเอนนอน และปรับหมุนได้ ติดตั้งบนฐานเก้าอี้ยึดล็อคกับพื้นรถตามมาตรฐานการรองรับการกระแทก 10 G หรือมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 ด้านการผลิตรถพยาบาลโดยตรง (พร้อมแนบเอกสารรับรอง) หรือการทดสอบอื่นที่ได้มาตรฐานเทียบเท่า พร้อมเข็มขัดนิรภัย 3 จุด ชนิดดึงกลับอัตโนมัติ แบบปลดล็อคเดียว ติดตั้งกับเก้าอี้ทุกตัว ยึดติดกับโครงสร้างรถอย่างมั่นคงได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. หรือตามมาตรฐาน UN-ECE R 14, UN-ECE R16 หรือมาตรฐานทางการแพทย์ ISO 13485 ด้านการผลิตรถพยาบาลโดยตรง หรือตามที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)  ประกาศ เพิ่มเติม และวัสดุที่นำมาหุ้มเบาะได้ผ่านการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร พ.ศ.2559

16.1        วัสดุหุ้มเบาะผ่านการทดสอบมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบ แนวราบ UNR 118. ANNEX 6 Test Method แนวดิ่ง URN 118. ANNEX 8

16.2        วัสดุหุ้มเบาะผ่านการรับรองตามมาตรฐานกรมการขนส่งทางบก โดยแนบผลการทดสอบในวันเสนอราคา

17.   ภายในห้องปฏิบัติการ หรือห้องพยาบาลส่วนท้ายสุดด้านบนติดตั้งโคมไฟสปอร์ตไลท์แบบปรับได้ขนิดหลอด LED  มีสวิทซ์ควบคุมการเปิด - ปิด ในห้องปฏิบัติการหรือห้องพยาบาล

18.    บนเพดานรถมีที่แขวนภาชนะใส่น้ำเกลือ/เลือด สามารถแขวนพร้อมกันได้ เพดานด้านในมีที่แขวนภาชนะใส่น้ำเกลือหรือเลือดแบบกล่องเปิดเมื่อไม่ได้ใช้งานจะไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดยื่นออกมาจากกล่องที่ยึดติดเพดาน เมื่อดึงออกมาใช้งานสามารถแขวนภาชนะพร้อมกันได้ 2 ที่ (ขวด) และมีที่รัดภาชนะทั้ง 2 แบบสามารถปรับขนาดได้

19.   มีที่จัดเก็บอุปกรณ์การแพทย์และอุปกรณ์อื่นที่จำเป็นอย่างเป็นสัดส่วน เป็นระเบียบและมีความปลอดภัยจากการหลุดร่วงปลิวออกจากที่จัดเก็บในกรณีที่มีการชนหรือกระแทกหรือพลิกคว่ำของรถได้มาตรฐาน ISO 13485 ด้านการผลิตรถพยาบาลโดยตรง พร้อมแนบเอกสารมาตรฐานมาแสดงในวันเสนอราคา

20.    มีประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยภาคบังคับ (พรบ.) ณ วันที่จดทะเบียน

 

ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

1.      เป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่สอบราคาซื้อดังกล่าว

2.      ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว

3.      ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยเว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ความคุ้มกันนั้น

4.      ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคา ณ วันประกาศสอบราคาซื้อ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการสอบราคาซื้อครั้งนี้

5.      ผู้ผลิตรถพยาบาลต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 และ ISO 13485 โดยมีขอบข่ายด้านการผลิตรถพยาบาลโดยตรง โดยยื่นเอกสารมาแสดง ในวันเสนอราคา

6.      ผู้ผลิตต้องได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิต ประเภทโรงอุตสาหกรรมผลิตสินค้าประเภทรถยนต์เท่านั้น โดยมีใบจดทะเบียนสรรพสามิต มาแสดงในวันเสนอราคา

7.      ผู้ผลิตต้องเป็นผู้ประกอบการรัฐวิสาหกิจ ขนาดกลาง และขนาดย่อม (SME) โดยแนบหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ (SME) เพื่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (THAI SME-GP) ทั้งหมดผ่านระบบ e-GP ในวันเสนอราคา

8.      รถพยาบาลที่ผลิตเสร็จแล้วต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทยโดยมีหนังสือรับรอง MIT จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมแนบเอกสารมาแสดงในวันที่เสนอราคา

9.      ประกันความชำรุดบกพร่องตามสัญญาเป็นระยะเวลา 1 ปี

10.  รถยนต์ยี่ห้อที่เสนอราคาจะต้องมีตัวแทนและศูนย์บริการในจังหวัดของผู้ซื้อ และสามารถเข้าตรวจบำรุงรักษาได้ทุกศูนย์ทั่วประเทศ การรับประกันให้เป็นตามเงื่อนไขของศูนย์บริการ หรือฟรีค่าแรงตรวจเช็คไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร สุดแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะถึงก่อน

11.  ผู้เสนอราคาต้องยื่นแค็ตตาล็อกหรือรูปแบบแสดงยี่ห้อ,รุ่น,ประเทศผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์มาพร้อมกับเอกสารประกอบการเสนอราคา โดยยื่นเอกสารทั้งหมด ในวันเสนอราคา

11.1         แค็ตตาล็อกรถยนต์ ขนาด 1 ตัน

11.2         แค็ตตาล็อกเตียงพยาบาล

11.3         แค็ตตาล็อกชุดช่วยหายใจชนิดใช้มือบีบสำหรับเด็กและผู้ใหญ่

11.4         แค็ตตาล็อกเครื่องดูดของเหลว

11.5         แค็ตตาล็อกเครื่องส่องกล่องเสียง

11.6         แค็ตตาล็อกเครื่องวัดความดันโลหิตแบบติดฝาผนัง

11.7         แค็ตตาล็อกชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน

11.8         แค็ตตาล็อกท่อเก็บออกซิเจน พร้อมอุปกรณ์

11.9         แค็ตตาล็อกอุปกรณ์ดามหลังชนิดสั้น (KED)

11.10     แค็ตตาล็อกเก้าอี้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยชนิดพับเก็บได้

11.11     แค็ตตาล็อกเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ

11.12     แค็ตตาล็อกเครื่องช่วยหายใจอัตโนมัติ

11.13     แค็ตตาล็อกแผ่นกระดานรองหลังสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

11.14     แค็ตตาล็อกเฝือกดามแขน ขา

11.15     แค็ตตาล็อกอุปกรณ์และกระเป๋าสำหรับเก็บอุปกรณ์ตามมาตรฐาน ACLS ATLS หรือ PHTLS

11.16     แค็ตตาล็อกสัญญาณไฟฉุกเฉินพร้อมเครื่องขยายเสียงอิเล็กทรอนิกส์ไซเรน

11.17     แค็ตตาล็อกวิทยุสื่อสาร

11.18     แค็ตตาล็อกเครื่องประจุไฟแบตเตอรี่ฉุกเฉิน หรือ เครื่องช่วยสตาร์ท

11.19     แค็ตตาล็อกกล้องบันทึกภาพ

11.20     แค็ตตาล็อกเครื่องติดตามและระบุตำแหน่งรถยนต์ (GPS) ที่สามารถเชื่อมกับระบบที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)  กำหนด

สินค้าที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ รถตู้พยาบาล